สาระอื่นๆเกี่ยวกับเหล็กไวร์เมช

ตะแกรงเหล็กไวร์เมช ชนิดผิวเรียบ(เส้นกลม) VS ชนิดข้ออ้อย

จากเดิมในอดีตที่เวลาลูกค้าสั่งตะแกรงเหล็กไวร์เมชจะเลือกสั่งเฉพาะผิวเรียบเส้นกลม ซึ่งทางโรงงานรับผลิตตั้งแต่ 2.6-8.0 มิลลิเมตร(มอก.747) และปัจจุบันได้มีวิวัฒนาการผลิตลายข้ออ้อยขึ้นมา ผู้รับเหมาก็นิยมใช้กันมากขึ้นเพราะสามารถยึดเกาะปูนได้ดีกว่าและสามารถผลิตตั้งแต่ขนาด 4.0-12.0 มิลลิเมตร(มอก.943) ทำให้ตัวเลือกในการใช้ตะแกรงเหล็กไวร์เมชมีมากขึ้น ปัจจุบันผู้รับเหมาหันมาใช้แบบผิวข้ออ้อยกันอย่างมากไม่ว่าจะเป็นร้านวัสดุก่อสร้าง,ไซต์งานก่อสร้าง,งานราชการ,งานเอกชน เกือบ 95% จะใช้เป็นตะแกรงเหล็กไวร์เมชชนิดข้ออ้อย

งานแบบไหนควรใช้ตะแกรงเหล็กไวร์เมชแบบไหน

อย่างที่ทราบกันว่าตะแกรงเหล็กไวร์เมชมีหลากหลายขนาด ตั้งแต่ 2.6 -12.0 มิลลิเมตร และช่องตาก็ยังมีหลายขนาดอีกตั้งแต่ 5-50 เซนติเมตร ซึ่งในความเป็นจริงแล้วทางวิศวกรผู้ออกแบบต้องเป็นคนคำนวณและกำหนดมาว่าจะใช้ตะแกรงเหล็กไวร์เมชขนาดกี่มิล ช่องตาเท่าไหร่ ต้องมีการทำรายการคำนวณพื้นที่รับน้ำหนัก ยิ่งถ้าเป็นงานถนนของราชการจะมีสเปคเยอะมากต้องขึ้นอยู่กับวิศวกรหน้างานเท่านั้นที่จะเป็นผู้กำหนด แต่ถ้าเป็นงานพื้นทั่วไปจะมีอยู่ 2 ขนาดที่นิยมใช้กันบ่อยคือ

1.ตะแกรงเหล็กไวร์เมชข้ออ้อย ขนาด 4.0 x 4.0 มิล @ 20 x 20 กว้าง 2 เมตร ยาว 50 เมตร ม้วนละ 100 ตรม. ราคา ตรม ละ 22.00(ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)

2.ตะแกรงเหล็กไวร์เมชข้ออ้อย ขนาด 6.0 x 6.0 มิล @ 20 x 20 กว้าง 3 เมตร ยาว 6 เมตร แผงละ 18 ตรม. ราคา ตรม ละ 48.00(ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)

 

สูตรการคำนวณเปรียบเทียบตะแกรงเหล็กไวร์เมช ABS – เหล็กเส้นธรรมดา

ใช้ตะแกรงเหล็กไวร์เมชอย่างไรให้ถูกวิธิ

โดยปกติแล้วช่างหรือผู้รับเหมานิยมนำตะแกรงเหล็กไวร์เมชมาวางในแบบแล้วก็เทปูน แต่จะมีปัญหาอยู่ที่ ระยะทาบ ซึ่งมีข้อกำหนดดังนี้

1.ควรหลีกเลี่ยงการต่อลวดเหล็กโดย วิธีทาบ ณ บริเวณที่มีหน่วยแรงสูงสุด (ตำแหน่งที่ลวดนั้นรับแรงเกินกว่าครึ่งหนึ่งของหน่วยแรงที่ยอมให้) แต่ถ้าจำเป็นต้องใช้การต่อวิธีนี้ ต้องมีระยะทาบของตะแกรงเหล็กไวร์เมชไม่น้อยกว่าระยะห่างของเส้นลวด และให้บวกเพิ่มอีก 5 เซ็นติเมตร

2.การต่อลวดตะแกรงเหล็กไวร์เมชที่รับแรงไม่เกินครึ่งหนึ่งของหน่วยแรงที่ยอมให้ จะต้องมีระยะทาบไม่น้อยกว่า 5 เซนติเมตร

ขั้นตอนการผลิตตะแกรงเหล็กไวร์เมช

1.ขั้นตอนแรกนำลวด Wirerod มารีดให้ได้ขนาดตามต้องการ เช่น 4 มิล,6 มิล,9มิล,12มิล และถ้าต้องการเป็นชนิดผิวข้ออ้อยก็สามารถขึ้นลายข้ออ้อยในขั้นตอนนี้ได้เลย

2.จากนั้นนำลวดที่ผ่านการรีดเย็นแล้วมาเข้าเครื่องตัดด้านขวาง ซึ่งจะสามารถตัดตั้งแต่ 50 เซนติเมตร ไปจนถึง 3.50 เมตร

3.พอตัดลวดด้านขวางไว้ครบแล้วนำมาเช้าเครื่องอาร์คตะแกรงเหล็กไวร์เมช ค่อยๆหยอดเส้นขวางลงไปจากนั้นเครื่องจักรจะทำการเชื่อมตะแกรง โดยขั้นตอนการเชื่อมจะเป็นการกดลงระหว่างเส้นยืนกันเส้นขวางแล้วใช้ไฟฟ้าเป็นตัวหลอมละลายให้เป็นเนื้อเดียวกัน ขั้นตอนนี้สำคัญมากถ้าเชื่อมไม่ดี ใช้เวลามากเกินไปหรือน้อยเกินไปก็อาจจะทำให้คุณภาพของตะแกรงเหล็กไวร์เมช ณ จุดตัดออกมาไม่ดี ถ้าเชื่อมไม่นานก็อาจจะทำให้เหล็กไม่ติด หลุดออกจากกันได้ เป็นต้น จากนั้นเมื่อเชื่อมเสร็จแล้วตะแกรงไวร์เมชจะถูกส่งออกมาทางหน้าเครื่องและเครื่องตัดก็จะตัดเมื่อได้ความยาวตามที่กำหนดไว้ เช่น กำหนดความยาวไว้ ที่6 เมตร หรือ 10เมตรถ้าเป็นงานแผงนิยมทำกันที่ไม่เกิน 10 เมตรเนื่องจากสะดวกในการขนส่งซึ่งต้องใช้รถเทรเลอร์ในการจัดส่งสินค้า หรือถ้าจะทำเป็นม้วน ม้วนเล็กนิยมทำกันที่ 25 เมตร หรือม้วนใหญ่ 50 เมตร เมื่อตะแกรงเหล็กไวร์เมชถูกตัดเรียบร้อยแล้วงานแผงก็สามารถยกไปเก็บได้เลย แต่ถ้าเป็นงานม้วนต้องนำไปเข้าเครื่องช่วยม้วนอีก 1 ขั้นตอน ส่วนใหญ่ เหล็กขนาด 4 มิลนิยมม้วนที่ 50 เมตร  และเหล็กขนาด 6 มิล นิยมม้วนที่ 25 เมตร

มาตรฐานตะแกรงเหล็กไวร์เมช

ผลิตตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม : มอก.737,747,943,/ASTM A 82,ASTM A 185-88, (equivalent to AASHTO M-32 and M-55)/BS 4482-69,BS 4483-69

ขนาดมวลและเกณฑ์ความคลาดเคลื่อนของเส้นลวด

สัญลักษณ์ของลวดยืน และลวดขวาง CDR 4.0-6.0(4.0-6.0 มิลลิเมตร)

เกณฑ์ความคลาดเคลื่อนของเส้นผ่านศูนย์กลาง +/- 0.1 มิลลิเมตร

รายการข้างต้นเป็นกรเปรียบเทียบเฉพาะตะแกรงเหล็กไวร์เมชกับเหล็กเส้นที่เป็นชนิดผิวเรียบเส้นกลมเท่านั้น ถ้าต้องการทราบชนิดของข้ออ้อยหรือขนาดที่นอกเหนือจากนี้ต้องให้ทางวิศวกรของทางบริษัทเป็นผู้ทำรายการคำนวนให้เท่านั้น

สถานการณ์เหล็กในตลาดโลก

เหล็กเป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นพื้นฐานสำคัญสำหรับชีวิตของคนเรา และยังถือส่วนสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจ เป็นมาตรวัดเศรษฐกิจทั้งโลกเลยก็ว่าได้ ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาโลกของเราได้ผลิตเหล็กขึ้นมาเยอะมาก แต่ราคาก็ยังคงสูงขึ้นเรื่อยๆและมีการแข่งขันที่รุนแรงอยู่ ความต้องการใช้เหล็กจะสูงขึ้นในปี 2019 และมีข่าวว่ากลุ่มนายทุนจากจีนจะเข้ามาไทยและนำเครื่องจักรเก่ามาผลิตเหล็กที่เมืองไทยโดยการ Take over โรงเหล็กของไทย คาดการณ์ว่าถ้าเป็นแบบนั้นจริง สถานการณ์ราคาเหล็กในเมืองไทยจะต่ำลงและการแข่งขันในตลาดจะดุเดือดกันแน่นอน